การเลือกใช้ Sluice Gate โดยเบื้องต้นจำเป็นต้องคำนึงถึง 4 ประการหลักคือ
- Size หรือขนาด การเลือกขนาดจะแบ่งเป็น 2 แบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน
1.1 แบบติดที่ปากท่อ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดท่อที่เราต้องการนำไปปิด โดยถ้านำไปปิดท่อ คลส. ขนาด 80 ซม. ก็ควรเลือกใช้ Sluice Gate ขนาด 800×800 มม.
1.2 แบบเสียบเข้าในรางยู ในแบบนี้จะเจอไม่บ่อยเพราะส่วนมากจะไปติดตั้งที่ปลายทางและที่ปลายทางจะเป็นบ่อรับทำให้เป็นแบบลักษณ์การติดตั้งแบบ 1.1 แต่ถ้าจำเป็นต้องติดตั้งแบบนี้ จะทำการวัดความกว้างและสูงของรางยูเพื่อออกแบบความกว้างและความสูงของประตูน้ำตามหน้างาน แต่อย่างไรก็ตามการนำประตูน้ำไปใช้ในรางยูจะทำให้เกิดการขวางทางน้ำจากกรอบประตูน้ำ และทำให้ประสิทธิภาพการระบายน้ำของรางยูจะลดลงอย่างมาก - Installation หรือลักษณะการติดตั้ง การติดตั้งทั่วๆไปในบ้านเราจะมี 2 แบบหลักๆ คือ
2.1 แบบทั่วไป การติดตั้งในแบบนี้พวงมาลัย เกียร์ และเพลาโผล่ขึ้นมาจากบ่อ ซึ่งอาจทำให้บดบังทัศนวิสัย หรือกีดขวางเส้นทางจราจรได้ เพื่อเลียกเลี่ยงปัญหาต่างๆเหล่านี้จึงมีการออกแบบแบบที่ 2.2 ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้
2.2 แบบติดตั้งให้หลบอยู่ภายในบ่อพัก โดยถ้าต้องการติดตั้งแบบนี้ต้องเลือกใช้ Sluice Gate แบบ Non-Rising Stem หรือ ประตูน้ำบานเลื่อนแบบก้านไม่ยก โดยตัวบานประตูน้ำจะยกขึ้นมาเมื่อเราทำการเปิดประตูน้ำ แต่เพลาของประตูน้ำจะไม่เคลื่อนที่ขึ้นเหมือนแบบ 2.1 ทำให้เพลาไม่โผล่ขึ้นไปบนพื้นถนนและไม่กีดขวางทางจราจร ถ้าจำเป็นต้องติดตั้งแบบนี้จำเป็นจะต้องออกแบบความลึกบ่อและระยะท่อให้เหมาะสม โดยระยะจาก หลังท่อถึงพื้น ต้องมากกว่า ขนาดของประตูน้ำ + 60 ซม. เป็นอย่างน้อยและท้องท่อถึงก้นบ่อไม่ความน้อยกว่า 15 ซม. เพื่อให้ประตูน้ำสามารถติดตั้งภายในบ่อได้ และประตูน้ำแบบ Non-Rising แบบนี้จะมีข้อเสียคือถ้าน้ำท่วมบานประตูเราจะไม่สามารถรู้ได้ว่าตอนนี้ประตูน้ำเปิดหรือปิดอยู่ หรือเปิดอยู่เท่าไร - Usage & Type หรือการใช้งานและชนิดของประตูน้ำ โดยหลักๆทางเราจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
3.1 การรั่วซึมตามมาตรฐาน AWWA โดยการเลือกประตูน้ำบานเลื่อนที่ผลิตตามมาตรฐาน AWWA ซึ่งมีอยู่ 4 มาตรฐานหลัก (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้โดยการคลิ๊กที่นี่) ซึ่งโดยปกติตามมาตรฐาน AWWA นั้นจะอนุญาตให้มีการรั่วซึ่มไม่เกินประมาณ 1.25 ลิตรต่อนาทีต่อเส้นรอบบาน 1 เมตร โดยสามารถเข้าไปอ่านมาตรฐานการทดสอบเพิ่มเติมได้ที่นี่>>> มาตรฐานการทดสอบประตูน้ำบานเลื่อน
3.2 แบบชะลอน้ำ เป็นการเลือกใช้ประตูน้ำเพื่อชะลอไม่ให้น้ำจากภายนอกเข้ามาในระบบเร็วเกินไป ปกติจะนำไปใช้กับระบบที่มีระบบในการสูบน้ำออกอยู่แล้ว ซึ่งประตูน้ำแบบนี้จะประหยัดค่าประตูน้ำ(ในกรณีที่เทียบกับการผลิตตามมาตรฐานAWWAในวัสดุเดียวกัน) และถ้าเลือกใช้วัสดุเป็นสแตนเลสจะลดเรื่องการซ่อมบำรุงไปได้มากจนแทบไม่ต้องบำรุงรักษาอะไรเลย
3.3 แบบไม่ให้มีการรั่วซึม แบบนี้จะเป็นการใส่ยางเพื่อเป็นซีลไว้ป้องกันน้ำรั่ว ซึ่งไม่มีมาตรฐานรองรับการผลิต เพราะการใส่ซีลยางเข้าไปในประตูน้ำลักษณะนี้จะไม่เหมาะกับการซ่อมบำรุงอย่างมาก เนื่องจากอายุการใช้งานของซีลยางจะต่ำ และการเปลี่ยนซีลสำหรับประตูน้ำบานเลื่อนนั้นจะยากมากเพราะจำเป็นต้องบล็อคน้ำเพื่อจะลงไปเปลี่ยนซีลทุกครั้ง - Material หรือวัสดุ ในประเทศไทยวัสดุที่ใช้ทั่วๆไปจะมี 3 แบบ ได้แก่
4.1 เหล็กเหนียว ซึ่งจะมีราคาถูก ส่วนมากจะใช้กับแบบชะลอน้ำเพราะราคาถูก แต่จำเป็นต้องทำการเปิด-ปิดบานประตูทุกๆ 1-2 เดือนเพื่อป้องกันการที่บานกับกรอบบานติดกันเพราะสนิมและทำให้ไม่สามารถเปิดหรือปิดบานได้ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้เหล็กเหนียวมาทำประตูน้ำ Sluice Gate เป็นการเลือกวัสดุที่ไม่เหมาะกับงาน ทำให้ต้องทำการบำรุงรักษาบ่อย ควรทำสี 3 ปีครั้งเป็นอย่างน้อย และที่สำคัญคือต้องมีคนมาคอยเปิด-ปิดทุกๆ 1-2 เดือน สำคัญมากๆ***
4.2 เหล็กหล่อ จะราคาสูงกว่าเหล็กเหนียวเพราะทนการกัดกร่อนจากการเกิดสนิมได้ดีกว่า และส่วนมากผลิตตาม AWWA C560 ทำให้เป็นบานที่มีมาตรฐานและทนต่อการใช้งานและดูแลรักษาไม่เยอะ(เปิด-ปิด 1 ปีครั้ง และทำสีทุกๆ 3-5 ปี)
4.3 สแตนเลส โดยปกติถ้าผลิตตามาตรฐาน AWWA C561 จะมีการรั่วซึมต่ำ การบำรุงรักษาระยะสั้นไม่เยอะแต่ราคาสูงมาก และซีลมีอายุการใช้งานนานเกิน 5 ปี แต่เมื่อต้องเปลี่ยนซีลจะทำได้ยาก โดยถ้าจะติดตั้งในระบบที่มีระบบสูบน้ำออกช่วยเราแนะนำให้ใช้แบบไม่มีซีล(แบบชะลอน้ำ) เพราะสแตนเลสจะทนต่อการกัดกร่อนได้ดีมากและเมื่อไม่มีซีลจะทำให้เราไม่ต้องดูแลและบำรุงรักษาอะไรเลยไปเป็น 10 ปีได้สบายๆ